ภาพประกอบ

นาซาสร้างแบบจำลองหิมะ 3 มิติ

05-04-2018 Views 14,889

เมื่อพูดถึงองค์การนาซา หลายคนมักเข้าใจว่าองค์การนาซาซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาทำวิจัยด้านดาราศาสตร์เท่านั้น แต่จริงๆแล้วองค์การนาซาศึกษาสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศของโลกเราด้วย

ล่าสุด Jussi Leinonen นักวิทยาศาสตร์แห่งห้องปฏิบัติการไอพ่น (JPL) สร้างแบบจำลองหิมะ 3 มิติขึ้นเพื่อศึกษาการละลายของเกล็ดหิมะในธรรมชาติอย่างละเอียด

        ภาพที่แสดงนี้เป็นการละลายของเกล็ดหิมะที่เกิดจากการพุ่งชนกันของเกล็ดหิมะจิ๋วๆหลายๆชิ้น โดยนักวิจัยพบว่าการละลายนั้นจะเริ่มจากส่วนโค้งเว้าของแผ่นหิมะก่อน จากนั้นน้ำที่ละลายออกมาจะเคลือบเป็นชั้นบางๆทั่วโครงสร้างภายในที่ยังไม่ละลาย ต่อมาทั้งหมดจะละลายรวมกันเป็นหยดน้ำในที่สุด

        ที่ผ่านมาองค์การนาซาทำการศึกษาธรรมชาติของหิมะอย่างละเอียดเพราะภูมิประเทศที่มีหิมะตกทั่วโลกนั้นอาจเรียกรวมๆได้ว่า crypsphere ซึ่งสภาพภูมิศาสตร์รูปแบบหนึ่ง

        งานวิจัยล่าสุดนี้มีประโยชน์มาก เนื่องจากสัญญาณเรดาร์ที่องค์การนาซาใช้ในการศึกษาบรรยากาศของโลกตรวจจับชั้นสว่างจ้าซึ่งมีทั้งหิมะและลูกเห็บโดยที่ทั้งสองกำลังละลายอยู่ แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่เข้าไปศึกษาธรรมชาติของชั้นนี้และตอบคำถามต่างๆได้ทุกแง่มุม งานวิจัยล่าสุดนี้สามารถจำลองชั้นบรรยากาศที่มีหิมะและลูกเห็บได้ และยังตอบคำถามได้ด้วยว่าทำไมสัญญาณเรดาร์บางช่วงคลื่นสามารถตรวจจับชั้นบรรยากาศหิมะที่ละลายนี้ได้